วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

ลังถึง

ไม้พาย 



พิมพ์รูปเรือ 


พิมพ์ไม้

ถ้วยตะไล

พิมพ์ทองม้วน

พิมพ์ครองแครง

พิมพ์เรไร

พิมพ์ลอดช่อง


พิมพ์ชนิดต่างๆ

ผ้าขาวบาง 


ที่พิมพ์ขนมดอกจอก 

ที่พิมพ์ขนมไข่ 

                         

  กรวยหยอดขนมต่างๆ 


       

        ถ้วยตวง

ขนมถ้วยฟู

ขนมถ้วยฟู

 

ส่วนผสม

แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง
ยีสต์ 1 ช้อนชา
ผงฟู 1 ช้อนชา

วิธีทำ

ใส่ยีสต์ลงไปในแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน ใส่น้ำลอดอกไม้ทีละน้อน นวดจนแป้งนิ่มเนียน
ใส่น้ำตาลและน้ำทั้งหมดลงในแป้ง ใส่ผงฟู นวดต่อไป ปิฝาครอบไว้ 1-2 ชั่วโมง
เรียงถ้วยตะไลลงในรังถึงนึ่งในน้ำเดือดจนถ้วยร้อนประมาณ 5 นาที
ตักขนมที่ผสมไว้ลงในถ้วยตะไลพอเต็มปิดฝานึ่งให้สุกประมาณ 10-15 นาที ยกลงพักไว้ให้เย็น แล้วจึงแกะออกจากถ้วย

ขนมผิง

ขนมผิง

ส่วนผสม


แป้งมัน 2 1/4 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย1/2 ถ้วยตวง
ไข่แดง(ไข่ไก่) 2 ฟอง

วิธีทำ

หัวกะทิใส่กระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ ใส่น้ำตาลลงในกะทิเคี่ยวจนเป็นยางมะตูมลงพักไว้สักครู่
ใส่ป้งมันลงในน้ำกะทิที่เคี่ยวไว้คนแรงๆเร็วๆ ให้ทั่วใส่ไข่แดงคนให้เข้ากัน แล้วนวดต่อจนนุ่ม หมักไว้ 2-3 ชั่วโมง 
ปั้นแป้งเป็นก้อนกลมๆ วางลงบนถาดที่ทาน้ำมันไว้บางๆห่างกันประมาณ 1 นิ้วจนเต็มถาดนำไปอบที่อุณหภูมิ 270-300 องศาฟาเรนไฮท์ประมาณ 10-20จนขนมสุก แซะออกจากถาดปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนำเก็บใส่ขวดโหล

วุ้นกะทิ

วุ้นกะทิ


 

ส่วนผสม

ผงวุ้น 2 ช.ต.
น้ำดอกไม้ 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1 ช้อนชา
แป้งข้าวเจ้า 1 ช.ต.

วิธีทำ

ละลายผงวุ้นในน้ำดอกไม้ให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อนๆให้เดือดเติมน้ำตาลทราย คนให้ละลาย
แบ่งวุ้นเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใส่น้ำใบเตยตั้งไฟให้เดือด ยกลง
วุ้นส่วนที่เหลือตั้งไฟอ่อนๆ ละลายแป้งข้าวเจ้าลงในหัวกะทิใส่เกลือคนให้เข้ากับแล้วใส่ลงในวุ้นที่ตั้งไฟรออย่ รอให้เดือดยกลง
เตรียมพิมพ์หรือถาดใส่วุ้นกะทิลงไปครึ่งหนึ่งให้วุ้นเริ่มแข็งตัวใส่วุ้นใบเตยรอให้เย็น สนิทดีแล้วจึงจัดใส่ภาชนะ

หมี่ทรงเครื่อง

หมี่ทรงเครื่อง


 

ส่วนผสม

เส้นหมี่ 200 กรัม
น้ำมันสำหรับทอดเส้นหมี่ 2 ถ้วยตวง
กระเทียมปลอกเปลือกสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
หัวหอมปอกเปลือกสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
เต้าเจี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปีบ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
ใบกุยช่าย 10 กรัม
ถั่วงอก 50 กรัม
กระเทียมดองหั่นบางๆ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกแดงหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

เส้นหมี่แช่น้ำพอนิ่ม ใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ แล้วทอดเส้นหมี่ทีละน้อยในน้ำมันร้อนๆ ให้เส้นพองเหลืองกรอบ ตักขึ้น
ใส่น้ำมันพืช 3 ช.ต. เจียวหัวหอมและกระเทียมให้เหลือง ใส่เต้าเจี้ยว น้ำส้มสายชู น้ำตาลปีบผัดจนน้ำตาลละลายเหนียว ใส่มะนาวชิมดู ให้มีรสตามต้องการ
ใส่เส้นหมี่ที่ทอดแล้วลงคลุกกับน้ำปลุงที่เตรียมไว้ด้วยไฟอ่อนๆ จนทั่ว เมื่อเส้นหมี่เกาะกันดีแล้ว ยกลงตักใส่จาน โรยกระเทียมดองแต่งหน้าด้วยผักชี พริแดงหั่นฝอย รับประทานกับถั่วงอกและใบกุยช่าย

ตะโก้แห้ว

ตะโก้แห้ว


 



ส่วนผสม


แห้วต้มหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก 1 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ

ใส่น้ำลอยดอกไม้ในแป้งข้าวเจ้าทีละน้อยนวดจนแป้งนุ่ม แล้วใส่น้ำลอยดอกไม้ลงไป ให้แป้งละลายหมด จนเข้ากันดี
ใส่แป้งที่ละลายไว้ลงในกระทะทอง ใส่น้ำตาลทราย ตั้งไฟกวนจน แป้งสุกข้น
ใส่แห้วทีหั่นไว้ลงกวนให้เข้ากัน
ทำหน้าขนมดดยละลายแป้งข้าวเจ้ากับหัวกะทิใส่น้ำตาลทรายลงคนให้เข้ากันกวนด้วยไฟอ่อน พอแป้งสุกยกลง
ตักตัวขนมใส่กระทงหรือถาดแล้วหยอดหน้าขนมลงไปขณะที่หน้าขนมยังร้อนอย่ปล่อยพักไว้ให้เย็น แล้วจัดใส่ภาชนะ

ขนมสาลี่

ขนมสาลี่



ส่วนผสม


แป้งเค้ก 1 1/2 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายละเอียด 1 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 1-2 ช้อนชา

เกลือป่น 1/4 ช้อนชา


วิธีทำ


ตีไข่ไก่ด้วยความเร็วสูงให้ไข่ไก่เข้ากัน ประมาณ 10-15 นาที
ค่อยๆใส่น้ำตาลลงในไข่ทีละน้อย(ขณะตีไข่) ใส่จนน้ำตาลหมดใส่เกลือป่นตีต่อไปเรื่อยๆ จนไข่ฟู เป็นสีครีมขาว
ใส่มะนาว กลิ่นวนิลา ตีต่อไปจนไข่ตั้งฟูเต็มที่ ค่อยๆใส่แป้งอย่างเบามือลงในไข่ไก่ที่ตีขึ้นแล้วสลับกับน้ำลอยดอกมะลิ เคล้าเบา ๆ ให้เข้ากันแล้วเทลงในถาดขนมที่นึ่งไว้จนร้อนจัดแล้วทันที นึ่งขนมด้วยไฟกลางประมาณ 20-30 นาที
ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น จิ้มลงตรงกลางขนม แล้วดูที่ไม้ถ้ามีเศษขนมติดอยู่ให้นึ่งต่อไปจนขนมแห้งสุกดีแล้ว เนื้อขนมจะขึ้นฟูและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
หมายเหตุ
ในขณะนึ่งควรไม่ให้ไอนำหยดลงบนหน้าขนม เพราะจะให้หน้าขนมเสียไม่สวย

ฝอยทอง

ฝอยทอง



ส่วนผสม


ไข่เป็ด 5 ฟอง

ไข่ไก่ 5 ฟอง

น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง

น้ำดอกไม้ 2 ถ้วยตวง

ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ


ต่อยไข่แยกเอาไข่แดงไว้ แล้วผสมไข่แดงของไข่เป็ดและไข่ไก่เข้าด้วยกัน ใส่ไข่น้ำค้างลงในไข่แดง
คนไข่ให้เข้ากันอย่าให้เป็นฟอง แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ไข่แดงเข้ากันดี
ผสมน้ำตาลทรายน้ำดอกไม้เข้าด้วยกันในกระทะทองตั้ง
ใช้กรวยใบตองหรือกรวยทองเหลือง โรยไข่ลงบนที่เชื่อมเป็นเส้นวน ไปรอบๆ ประมาณ 10-20 รอบหรือตามต้องการ พอไข่สุกประมาณ 1 นาที ใช้ไม้แหลมสอยขึ้น แล้วพับให้เป็นแพหรือพับให้เป็นคำตามต้องการ

ทองเอก

ทองเอก


ส่วนผสม


ไข่เป็ด 5 ฟอง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 5 ฟอง
แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง

วิธีทำ


ต่อยไข่แยกไข่ขาวออกไข่แดงใส่ชามปิดฝาไว้อย่าให้ถูกลม
หัวกระทิผสมน้ำตาลทรายตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้เป็นยางมะตูมยกลงจากเตา
ใส่ไข่แดงที่แยกไว้ลงในหัวกระทิที่เคี่ยวไว้คนเร็วๆ ให้เข้ากัน ใส่แป้งลงคนต่อให้เข้ากัน แล้วยกขึ้นกวนด้วยไฟอ่อนๆ จนไข่สุกและแป้งล่อนออกจากกระทะ ยกลง
ตัดขนมเป็นก้อนกลม แตะทองคำเปลวชิ้นเล็กๆ แล้วถดลงในพิมพ์ไว้ให้แน่น แล้วเคาะออก เรียงใส่ภาชนะ

ทองหยิบ

ทองหยิบ



ส่วนผสม


ไข่เป็ด 10 ฟอง
น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกไม้ 2 ถ้วยตวง


วิธีทำ


ผสมน้ำลอยดอกไม้ น้ำตาลทราย เคี่ยวให้เป็น้ำเชื่อม สำหรับหยอด
แยกไข่ขาวและไข่แดงใช้แต่ใข่แดงตีให้ขึ้นฟูจนไข่เปลี่ยนเป็นสีนวล
ตักไข่หยอดใส่ในน้ำเชื่อม ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ให้ไข่เป็นแผ่น หยอดให้เต็มกระทะ รอให้ไข่สุก ตักแผ่นไข่ที่หยอดไว้ใส่ถาดใช้มือจับเป็นจีบ ตามต้องการ แล้วหยิบใส่ถ้วยตะไล รอให้เย็นแล้วจึงแคะออกจากถ้วยตะไล
หมายเหตุ
เวลาตักไข่หยอดลงในน้ำเชื่อม ต้องให้น้ำเชื่อมนิ่งเพื่อไข่ที่หยอดจะได้ไม่แตก
ถ้าใช้ไข่ไก่ผสมด้วยเนื้อขนมจะนุ่มขึ้นแต่สีที่ได้จะอ่อนลง

มะพร้าวแก้ว

มะพร้าวแก้ว

ส่วนผสม


มะพร้าวทึนทึก ขูดฝอย 3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
น้ำดอกไม้ 1/2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/8 ช้อนชา


วิธีทำ


ใส่น้ำตาลทรายลงในกระทะทองใส่น้ำลอยดอกไม้ ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยว จนน้ำตาลละลายและเหนียวใสเป็นยางมะตูม
ใส่มะพร้าวที่ขูดไว้แล้วลงในน้ำเชื่อมที่เคี่ยวไว้ คนให้นำตาลจับเส้นมะพร้าวให้ทั่ว เคี่ยวจนนำเชื่อมแห้งยกลงจากเตา
ตักมะพร้าวให้เป็นก้อนกลม วางลงบนถาดแล้วผึ่งให้แห้ง เก็บใส่ขวดโหล สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน
หมายเหตุ
ถ้าต้องการให้ขนมมีหลายสีก็เติมสีลงในนำเชื่อมก่อนใส่มะพร้าวลงคลุก
ถ้าใช้มะพร้าวอ่อนควรเพิ่มปริมาณน้ำตาลให้มากขึ้นกว่าการใช้มะพร้าวแก่

ลูกชุบ

ลูกชุบ

 


ส่วนผสม

ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 1/3 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
วุ้นผง 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

แช่ถั่วเขียวประมาณ 1-2 ชั่วโมง นึ่งให้สุกนุ่ม แล้วบดให้ละเอียด
หัวกะทิตั้งไฟอ่อนๆ ใส่นำตาลทรายลงเคี่ยวให้นำตาลละลายหมด ใส่ถั่วลงกวนกับกะทิตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้แห้งจนถั่วล่อนออกจากกระทะ
เทถั่วที่กวนได้ที่แล้วลงในถาดหรือชามพักไว้ให้เย็น
ปั้นถั่วเป็นรูปผลไม้เล็กๆ ตามต้องการ แล้วระบายสีผลไม้ที่ปั้นไว้ให้เหมือนจริงพักไว้ให้สีแห้ง
ผสมผงวุ้นกับน้ำเปล่าใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ จนวุ้นละลายหมดยกลง วางพักไว้สักครู่
นำผลไม้ที่ระบายสีไว้ ชุบวุ้นให้ทั่ว พักไว้ให้แห้งแล้วชุบอีก 2 ครั้ง ปล่อยให้แห้งจึงนำไปตกแต่งให้สวยงาม


ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไป ประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัด เป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่ กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ 
   
  ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ 
   
  ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานศิริมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมี ฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น ขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรส 

  ถ้าเป็นงานมงคลสมรสมักจะทำขนมหวานให้ครบ 9 สิ่งขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรสตามประเพณี ทางฝ่าย เจ้าสาวจะต้องเป็นผู้จัด และขนมที่นิยมจัด คือ 1. ฝอยทองหรือทองหยิบ 2. ขนมชั้น 3. ขนมถ้วยฟู 4. ขนมทองเอก 5. ขนมหม้อแกง 6. พุทราจีนเชื่อม 7. ข้าวเหนียวแก้ว หรือวุ้นหน้าสีต่าง ๆ 8. ขนมดอกลำดวน 9. ผลไม้ต่าง ๆ ลอยแก้ว แต่ตามความเชื่อบางอย่างของคนไทย ขนมที่มีลักษณะเป็นเส้น มักจะใช้สำหรับงานทำบุญอายุ เพราะเชื่อ ว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว แต่กลับไม่ใช้จัดในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีการตายต่อเนื่องไม่เป็นมงคล ความเชื่อ เหล่านี้ถือเป็นเหตุผลของแต่ละบุคคลมิได้เป็นข้อห้ามเสียทีเดียว 

  ขนมที่ใช้ในพิธีการตั้งศาลพระภูมิ ขนมที่ใช้เป็นเครื่องสังเวยพระภูมิ คือ 1. ขนมต้มแดง 2. ขนมต้มขาว 3. ขนมเล็บมือนาง (ขนมคันหลาว) 4. ขนมดอกจอก หรือขนมทองหยิบ 5. ขนมถั่วแปบ (ขนมหูช้าง) 6. ขนมข้าวเหนียวแดง 7. ขนมประเภทบวชต่างๆ 

  ขนมที่ใช้ในเทศกาลต่าง ๆ ประเพณีสงกรานต์ งานตรุษสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี คนไทยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ของไทย ขนมที่ใช้ทำได้แก่ 1. กาละแม 2. ข้าวเหนียวแดง 

  วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำวัด ไม่ออกไปค้างแรม ที่อื่นเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพราะเป็นฤดูฝน ขนมที่นิยมทำ ได้แก่ 1. ข้าวต้มผัด 2. แกงบวดต่าง ๆ ได้แก่ แกงบวดฟักทอง แกงบวดมันสำปะหลัง 

  วันสารทไทย วันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ขนมที่ใช้ทำกัน ได้แก่ ขยาสารท การทำบุญเดือนสาม เป็นเทศกาลทำบุญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่า งานบุญข้าวจี่ เป็นการจัดอาหารมาถวายพระ ที่อยู่ ณ สถานที่ของวัด เพื่อปลงอาบัติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี ขนมที่ใช้งานบุญเดือนสาม ได้แก่ 1. ขนมเทียน 2. ข้าวต้มผัด 3. ข้าวจี่ 

  การทำบุญเดือนสิบ การทำบุญเดือนสิบ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลของภาคใต้ เป็นการทำบุญแผ่ส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่ใช้ในการทำทำบุญเดือนสิบ ได้แก่ 1. ขนมลา หมายถึง เสื้อผ้าแพรพัน 2. ขนมกง หมายถึง เครื่องประดับ 3. ขนมดีซัน หมายถึง เบี้ยหรือเงินใช้สอย 4. ขนมพอง หมายถึง แพรล่องข้าม 5. ขนมสะบ้า หมายถึง สะบ้า